22 เม.ย. 2554

ถ้ำแก้วโกมล




วนอุทยานถ้ำแก้วโกมล   เดิมเรียกชื่อถ้ำผลึกแคลไซต์แม่ลาน้อย ตั้งอยู่บริเวณเขาดอยถ้ำ หมู่ที่ 14 บ้านห้วยมะไฟ ต.แม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ในเขตประทานบัตรเหมืองแร่ฟลูออไรต์ ของห้างหุ้นส่วนจำกัด พี. วี ซัพพรายส์ (ไทยแลนด์) อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย  ถ้ำแก้วโกมล ได้ถูกค้นพบโดยวิศวกรเหมืองแร่ ประจำสำนักงานทรัพยากรธรณี จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2536 สภาพภายในถ้ำเต็มไปด้วยผลึกแคลไซต์ (Calcite) รอบด้านทั้งบริเวณผนัง พื้น และเพดานของถ้ำ ผลึกมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันมากมายหลายแบบจับตัวกันมองดูคล้ายปะการัง ดอกกระหล่ำ เกล็ดน้ำแข็ง ดอกเข็ม และโคมไฟเพดาน มีสีขาวใส เหลือง แดง และน้ำตาล มีความสวยงามมากตามธรรมชาติ มีคุณค่าและความสำคัญ ต่อการศึกษาค้นคว้าวิจัย  ในปี พ.ศ.2538 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการพัฒนาด้านความสะดวกและความปลอดภัยในการเข้าเที่ยวชมถ้ำ ได้ดำเนินการกันเขตพื้นที่บริเวณรอบถ้ำในเขตรัศมี 200 เมตร ครอบคลุมเนื้อที่ 51 ไร่ 1 งาน 04 ตารางวา ออกจากพื้นที่ประทานบัตร โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 ตรี แห่ง พ.ร.บ เหมืองแร่ พ.ศ.2510 ซึ่งเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ให้พื้นที่กลับไปมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ภายใต้การกำกับดูแลของกรมป่าไม้ โดยจัดตั้งเป็นวนอุทยานแม่ลาน้อย ตามความในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507  ในปี พ.ศ.2543 ได้มีการส่งมอบและรับมอบถ้ำผลึกแคลไซต์แม่ลาน้อยระหว่างกรมทรัพยากรธรณี กับกรมป่าไม้โดยผู้ว่าราชการจังแม่ฮ่องสอน เป็นผู้รับมอบ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2543 ณ วนอุทยานถ้ำแม่ลาน้อย
ลักษณะเด่นของถ้ำแก้วโกมล   คือเป็นโพรงลึกลงไปในแนวดิ่งถึง 30 เมตร มีทางเดินและทางออกทางเดียวประมาณ 120 เมตร กล่าวกันว่าถ้ำแก้วโกมลแห่งนี้เป็นถ้ำผลึกแคลไซด์ที่สวยงามที่สุดในประเทศไทย และพบเป็นแหล่งที่ 2 ในทวีปเอเชีย โดยแห่งแรกอยู่ที่ประเทศจีน
การเกิดผลึกแคลไซด์   หรือแคลเซียมคาร์บอเนต เกิดจากกระบวนการกลั่นตัวตกผลึก (Crystallizaton) ของไอน้ำร้อนที่ละลายสารแคลเซียมในถ้ำจนอิ่มตัวแล้วเกิดเป็นผลึกจับตามผนังถ้ำ ชื่อว่าถ้ำแก้วโกมลเดิมเป็นทางน้ำร้อนใต้ดิน เมื่อกระแสน้ำร้อนละลายสารแคลเซียมที่ฟุ้งกระจายอยู่ในโพรงถ้ำภายใต้อุณภูมิที่เหมาะสมจึงเกิดเป้นผลึกแร่บริสุทธ์และอ่อนนุ่มราวหิมะ ซึ่งพบเห็นได้ยากมาก ภายในถ้ำแก้วแบ่งออกเป็นโถงถ้ำทั้งหมด 5 ห้อง เมื่อผ่านทางเข้าปากถ้ำ คุณสามารถเดินชมถ้ำแก้วไปตามทางเดินที่เชื่อมถึงกันตลอด โถงถ้ำที่น่าสนใจได้แก่ห้องที่ 4 ซึ่งมีผลึกแคลไซด์ บริสุทธิ์ที่มีรูปร่างคล้ายปะการัง ผลึกรูปเข็มและเกร็ดน้ำแข็ง และห้องที่ 5 ซึ่งเป็นห้องที่อูยู่ลึกที่สุดมีความสวยงามมากที่สุด มีผลึกแคลไซด์ที่สมบูรณ์มากตามพื้นและผนัง ทั้งผลึกรูปเข็มและผลึกรูปปะการังสีขาว อย่างไรก็ดี เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่มีความเปราะบาง คุณจึงควรระวังไม่ให้ชนกับผลึกแคลไซด์ภายในถ้ำขณะเดินชม เพราะอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้  ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2544 สมเด็จพระนางจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร ถ้ำแม่ลาน้อย และได้พระราชทานนามถ้ำแม่ลาน้อยเป็นชื่อ ถ้ำแก้วโกมล และได้พระราชทานนามชื่อห้องในถ้ำแก้วโกมลซึ่งอยู่ภายในถ้ำเป็นชั้นๆจำนวน 5 ชั้น

เที่ยวปาย

ปาย...อำเภอเล็ก ๆ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเยือนอย่างไม่ขาดสาย ความเงียบสงบ ลำน้ำปายสายน้อยที่ไหลเอื่อยผ่านกระต๊อบเล็ก ๆ อันเป็นที่พำนักของนักท่องเที่ยว ภูเขาที่ใหญ่น้อยที่โอบล้อม เป็นเสน่ห์ที่ประทับใจนักท่องเที่ยวอย่างไม่รู้เลือน ในฤดูฝน ริมลำน้ำปายจะดารดาษไปด้วยทุ่งนาข้าวเขียวขจี และเมื่อย่างเข้าฤดูหนาว ทุ่งนาข้าวก็จะแปรเปลี่ยนเป็นไร่กระเทียมที่ทอดตัวยาวไปจรดเชิงเขา ท่ามกลางสายหมอกเย็นระรื่น รุ่งเช้า ไอหมอกจากแม่น้ำปาย ค่อย ๆ สะสมปกคลุมไปทั้งตัวเมือง ให้ทุกสิ่งของเมืองปายดูเลือนราง แต่กลับเต็มไปด้วยเสน่ห์



ยามสายหมอกจางหาย เหลือเพียงเมืองเล็ก ๆ ที่เงียบสงบ กรุ่นกลิ่นไอศิลปะ และอารมณ์สบาย ๆ น่านั่งจิบกาแฟ ปล่อยอารมณ์ให้ไหลไปกับเวลาที่ค่อย ๆ ย่างก้าวไปข้างหน้าอย่างช้า ๆ ใกล้ ๆ เที่ยง วิถีปายก็เปลี่ยนไป มอเตอร์ไซค์คันน้อย จะทยอยออกจากเมือง พานักท่องเที่ยวรับลม และสัมผัสกับธรรมชาติรอบ ๆ เมืองน้อยกลางหุบเขาแห่งนี้ หรือ พานักท่องเที่ยวมุ่งหน้าเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ อันหลากหลาย ทั้ง วัดน้ำฮู Coffee in Love หรือ ศูนย์วัฒนธรรมยูนนาน จนกระทั่งราตรีมาเยี่ยมเยือน ถนนก็เริ่มครึกครื้น ร้านขายโปสการ์ด hand-made เปิดไฟสีนวลให้ร้านยิ่งน่ารักชวนมอง ชาวดอยต่าง ๆ ก็ปูผ้ากันริมถนนขายสินค้าพื้นเมือง ทั้งย่ามทอมือ ผ้าปักหลากสี
เสียงเพลง Ginger Tea แว่วดังขึ้น ชาวต่างชาติกลุ่มใหญ่ก็เข้ามารุมล้อมรถเข็นขายน้ำขิงในกระบอกไม้ไผ่ และรับฟังเพลงน่ารัก ๆ จากปากแม่ค้า ตกดึก เสียงเพลงบอสซ่าใส ๆ สไตล์อาร์ต ๆ เริ่มคลอเคลียสู่ผู้มาเยือน เรียกให้เข้าไปผ่อนคลายร่างกายในร้านกินดื่ม ไม่ว่าจะเป็นร้านดั้งเดิมเป็นที่นิยมของ
ปายอย่าง B-Bop และร้านเก่า-ใหม่มากมาย ฝรั่งซำเหมาเริ่มย่างเท้าเข้าร้านประจำ ฝรั่งแบคแพคส่วนใหญ่ แค่เบียร์สองขวดก็ดื่มได้ทั้งคืน เป็นนัยว่า แอลกอฮอล์เป็นแค่ส่วนประกอบชองการนั่งละเลียดอารมณ์ แบ่งปันประสบการณ์กับเพื่อน ๆ นักท่องเที่ยวกัน ทุกอย่างนี้ล้วนแต่งแต้มสีสันเมืองปายในยามราตรีให้ดูสดใสทุกค่ำคืน การที่นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นบางคน เช่าที่ดินในเมืองปาย ปีละ 3 เดือนทุก ๆ ปี เพื่อปลูกนาข้าวด้วยมือของตน

เที่ยวดอยอินทนนท์



อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์   ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อ พ.ศ.2515 ประกาศเป็นอุทยานฯ เป็นลำดับที่ 6 ของประเทศไทย มีพื้นที่ 482.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่มอำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ดอยอินทนนท์แต่เดิมดอยนี้มีชื่อว่า " ดอยหลวง " หรือ " ดอยอ่างกา " ดอยหลวง มาจากขนาดของดอยที่ใหญ่มาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า " ดอยหลวง " ( หลวง: เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ใหญ่ ) ดอยอ่างกา มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากยอดดอยไปทางทิศตะวันตกประมาณ 300 เมตร มีหนองน้ำแห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่าง ฝูงกาจำนวนมากมายมักพากันไปเล่นน้ำที่หนองน้ำแห่งนี้ จึงพากันเรียกว่า "อ่างกา" และภูเขาขนาดใหญ่แห่งนั้นก็เลยเรียกกันว่า " ดอยอ่างกา " แต่ก็มีบางกระแสกล่าวว่า คำว่า " อ่างกา " นั้น





ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูง อากาศจึงหนาวเย็นตลอดปี รวมถึงฤดูร้อนด้วย บนยอดดอยมีความชื้นสูงมาก ในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำกว่าศูนย์องศงเซลเซียสทุกปี สามารถพบเห็น แม่ขะนิ้ง หรือ น้ำค้างแข็งได้
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
ในอุทยานนั้นมีสภาพป่าเป็น ป่าดิบเขา ป่าสน ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้ ไม้สัก ไม้ตะเคียน สนเขา เต็ง เหียง มะเกลือ ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้รกฟ้า ไม้มะค่า ไม้เก็ดแดง ไม้จำปีป่า ไม้ตะแบก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีดอกไม้ป่าให้พบเห็นอีกด้วย เช่น ฟ้ามุ่ย ช้างแดง รองเท้านารี และกุหลาบป่าสำหรับมอส ข้าวตอกฤๅษี ออสมันด้า มีอยู่ทั่วไปในระดับสูง  แต่สัตว์ป่าในเขตอุทยานนั้นมีจำนวนน้อย เนื่องด้วยถูกชาวเขา ล่าไปเป็นอาหาร ปัจจุบันสัตว์ที่หลงเหลือก็มี เลียงผา กวางผา กวาง เสือ หมูป่า หมี ชะนี กระต่ายป่า และ ไก่ป่า


อุทยานแห่งชิาติภูเรือ

อุทยานแห่งชาติภูเรือ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอภูเรือและอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย อาณาเขตด้านทิศเหนืออยู่ติดกับประเทศลาว รูปพรรณสันฐานของภูเรือมีรูปร่างลักษณะเหมือนเรือใหญ่บนยอดดอยสูงเป็นภูผาสีสันสะดุดตาหินบางก้อนมีลักษณะเหมือนถูกปั้นแต่งไว้ ชาวบ้านเรียกว่า กว้านสมอโดยรอบๆ จะเห็นยอดดอยเป็นขุนเขาน้อยใหญ่ใกล้เคียงเป็นฝ้าขาวด้วยละอองน้ำ หมอก ปกคลุมไว้ท่ามกลางป่าอันอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อที่ประมาณ 120.84 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติภูเรือ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาสูงสลับซับซ้อนประกอบด้วย เขาหินทรายเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนั้นเป็นหินแกรนิตสลับกันไป ลักษณะเช่นนี้จึงทำให้มีที่ราบสูงสลับกับ ยอดเขาสูงทั่วไป มียอดเขาสูงที่สุดคือ ยอดภูเรือ มีความสูงถึง 1,365 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยังมียอดเขาที่สำคัญ คือ ยอดเขาภูสัน มีความสูง 1,035 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และยอดภูกุ มีความสูง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะเช่นนี้เองจึงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญก่อให้เกิดลำธารหลายสาย เช่น ห้วยน้ำด่าน ห้วยบง ห้วยเถียงนา ห้วยทรายขาว ห้วยติ้ว และห้วยไผ่ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของน้ำตกห้วยไผ่ที่สวยงามแห่งหนึ่ง
ลักษณะภูมิอากาศ
ด้วยอุทยานแห่งชาติภูเรืออยู่ที่จังหวัดเลย ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุดของประเทศไทย และอยู่บนยอดเขาสูง จึงทำให้มีอากาศเย็นตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวจะหนาวเย็นมาก จนกระทั่งน้ำค้างบนยอดหญ้าจะแข็งตัวกลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งมีภาษาพื้นเมืองเรียกว่า แม่คะนิ้งผู้ที่จะไปพักผ่อนควรเตรียมตัวให้พร้อมที่จะผจญกับความหนาวเย็น
พืชพรรณและสัตว์ป่า
ภูเรือ มีสภาพป่าหลายชนิดปะปนกันอย่างสวยงาม ทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าดงดิบ ป่าสนเขา โดยเฉพาะยอดภูเรือ ประกอบด้วยป่าสนเขา สลับกับสวนหินธรรมชาติแซมด้วยพุ่มไม้เตี้ย สลับด้วยทุ่งหญ้าเป็นระยะ ไม้พื้นล่างที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ กุหลาบป่า มอส เฟิน และกล้วยไม้ที่สวยงาม เช่น ม้าวิ่ง สามปอย ไอยเรศ เอื้องคำ เอื้องผึ้ง เอื้องเงิน ซึ่งขึ้นตามต้นไม้และโขดหิน กล้วยไม้เหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งให้ชมสลับกันไปตลอดทั้งปี